สรุปสั้นๆ โควิดลูกผสมสายพันธุ์...
ReadyPlanet.com

Home



สรุปสั้นๆ โควิดลูกผสมสายพันธุ์ โอมิครอน


 
ข่าวของโควิดสายพันธ์ใหม่ "โอไมครอน หรือ โอมิครอน (Omicron)" โควิดลูกผสมมาแรงมากในช่วงเดือนปลายปี 2564 สาเหตุเพราะคุณลักษณะหลายอย่างของตัวไวรัสสายพันธุ์ใหม่ถือว่าแตกต่างจากสายพันธุ์ที่ผ่านมา และอาจดุชนิดคาดไม่ถึง ที่ทำให้เกิดความกังวลขึ้นอย่างมาก หลายประเทศปิดพรมแดนทันทีเพื่อสกัดการระบาด ในที่นี้จะขอสรุปสั้น ๆ แบบที่คนทั่วไปเข้าใจ ไม่เชิงวิชาการมากเกินไป ให้คนที่ไม่มีความรู้เกี่ยวกับไวรัสวิทยา เข้าใจกับไวรัสสายพันธุ์นี้กัน
 
รู้จักกับ โอไมครอน

สรุปสั้นๆ โควิดลูกผสมสายพันธุ์ โอมิครอน
 
ปลายปี 2564 หลังโควิดสายพันธุ์เดลต้าเริ่มคลี่คลายลง สายพันธุ์อื่น ๆ ภายหลัง ไม่ว่าจะ เดลต้าพลัส แลมด้า สายพันธุ์มิว ดูจะไม่อันตรายมาก  บาคาร่า ข่าวเกี่ยวกับโควิดไปในทิศทางที่ดีขึ้น จนเชื่อว่าใกล้ถึงจุดสิ้นสุดของการวิวัฒนาการของไวรัส แต่ โอไมครอน (B.1.1.529) ทำให้ต้องเปลี่ยนความคิด มาพร้อมกับคุณสมบัติหลายอย่าง เช่น
 
กลายพันธุ์หลายตำแหน่ง
 
โอไมครอน ตำแหน่งการกลายพันธุ์เพิ่มขึ้นอีก 32 ตำแหน่ง จาก 50 จุด ซึ่งเป็นส่วนที่ทำให้เกิดการติดเชื้อในเซลล์ร่างกายมนุษย์ ถือเป็นจุดที่วัคซีนทำการกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายเพื่อต้านทานไวรัส
กล่าวคือ แทบจะเปลี่ยนหน้าตาของไวรัสไปจากเดิม เป็นไวรัสโควิดสายพันธุ์ที่มีการกลายพันธุ์มากที่สุดเท่าที่มีการค้นพบจนถึงขณะนี้ โดยคุณลักษณะของหนามโปรตีนบนไวรัส ทำให้เชื่อว่าน่าจะ ดื้อยา และ แพร่เชื้อเร็ว ขึ้น แต่ต้องรอข้อมูลเกี่ยวกับอาการ
 
สาเหตุการกลายพันธุ์ มีหลายทฤษฎี
 
มีหลายความเชื่อเกี่ยวกับ โอไมครอน เช่น ฟักตัวมาจากผู้ป่วยที่เป็นโรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง (เอดส์), ผู้ป่วยโควิดเรื้อรัง หรือ มาจากสัตว์มีฟันแทะ เช่น หนู (ทุกข้อล้วนเป็นเพียงสมมุติฐาน ที่รอการยืนยัน)
โควิดลูกผสม "โอไมครอน" ร่วมไวรัสไข้หวัด ทำแพร่เชื้อเร็ว | TNN ข่าวเย็น | 15-12-21
 
ความน่ากังวลที่เห็นได้ชัด
 
จากการสุ่มตรวจ พบว่ามีการแพร่ที่เร็วมาก เพียง 1 สัปดาห์แพร่ไปได้เทียบเท่าสายพันธุ์ก่อนหน้าเป็นเดือน และอาจมีผู้ติดเชื้อสายพันธ์โอไมครอนมากกว่าที่คาดคิด แม้จะฉีดวัคซีนครบ 2-3 เข็ม ภูมิคุ้มกัน 1-4 หมื่นก็ติดได้
 
ความรุนแรงของโอไมครอน
 
ตัวแปรสำคัญมี 4 อย่าง คือ ประสิทธิภาพการแพร่กระจายของไวรัส, หลบภูมิต้านทาน, ความรุนแรงของไวรัส และโอกาสติดเชื้อซ้ำ 

  1. การแพร่กระจาย

คาดว่า อาจจะมีการแพร่กระจายได้ไม่น้อยไปกว่าสายพันธุ์เดลต้า
จากหลายสื่อเชื่อว่าอาจแพร่ในอากาศได้ดีขึ้นจากเดิม เพราะมีผู้ป่วยหลายประเทศที่ได้รับเชื้อในที่กักตัวที่ห้องติดกัน ติดเชื้อโดยไม่เคยเจอหน้ากัน
เชื่อว่า โอมิครอน เป็นการแพร่กระจายในอากาศ (Airborne) ได้อย่างมีประสิทธิ์ภาพยิ่งกว่าโควิด-19 สายพันธุ์ดั้งเดิม
โดยปกติ วัคซีนแพร่ในอากาศได้ดีในระดับหนึ่งอยู่แล้ว แต่ถ้าปริมาณน้อยมาก จะโดนภูมิคุ้มกันจัดการก่อนมีโอกาสฟักตัว แต่ โอมิครอน ถือเป็นการเปลี่ยนหน้าตาจนภูมิคุ้มกันไม่รู้จัก ทำให้แม้จะเข้าร่างกายเพียงเล็กน้อย ก็มีโอกาสฟักตัวสูง
ผลศึกษาญี่ปุ่นพบ ‘โอไมครอน’ ติดง่ายกว่า ‘เดลตา’ 4.2 เท่า
“โอมิครอน” แพร่เชื้อในหลอดลม เร็วกว่าเดลตา 70 เท่า แต่ลงปอดช้ากว่าโควิดสายพันธุ์ดั้งเดิม 10 เท่า ทำให้แพร่กระจายได้ง่ายแต่ไม่รุนแรง 

  1. หลบภูมิต้านทาน

จากลักษณะของไวรัสที่แตกต่างจากสายพันธุ์เดิมจนวัคซีนจำหน้าตาไม่ได้ ทำให้เชื่อว่าน่าจะดื้อต่อวัคซีนที่ฉีด หลบภูมิได้ดี
ผู้ได้รับการฉีดวัคซีนทั้ง mRNA และชนิดต่างๆ มีโอกาสสูงที่จะติดเชื้อโอไมครอนได้ แม้จะได้วัคซีนครบ 2-3 เข็ม
จากการทดลองในกลุ่มอาสาสมัคร พบว่าโควิดโอไมครอน หนีภูมิวัคซีนไฟเซอร์ได้มากกว่า 41 เท่า (มากกว่าสายพันธุ์เบต้า 10 เท่า) ข้อมูลจาก FB. ดร.อนันต์ จงแก้ววัฒนา 

  1. ความรุนแรง

ผู้ติดเชื้อในแอฟริกาใต้ จากหลักร้อยในช่วงเดือนพฤศจิกายน 2564 กลับมาเป็นหลักหมื่นในเวลาสั้น ๆ คิดเป็น 330% แต่ส่วนใหญ่อาการไม่หนักและยอดผู้เสียชีวิตไม่แตกต่างจากเดิมมากนัก ผู้ป่วยเข้าห้อง ICU ราว 6.7% เท่านั้น
ถึงแม้จะไม่รุนแรงจนเข้าโรงพยาบาล แต่มีผู้ป่วยจำนวนหนึ่งยังต้องเข้าโรงพยาบาล และทุกคนต้องกักตัวเหมือนคนติดโควิด-19 สายพันธุ์อื่น เมื่ออาการไม่หนัก ทำให้แพทย์และนักวิชาการบางท่านเชื่อว่า อาจจะช่วยกระตุ้นภูมิ หรือ ลดความต้องการวัคซีน ในระยะยาว แต่ยังไม่มีรายงานที่ยืนยันชัดเจน เพราะยังมีความเสี่ยงที่จะติดซ้ำ
 
4. โอกาสติดเชื้อซ้ำ / การรักษา

มีผลการศึกษาว่า "โควิดโอไมครอน" อาจทำให้คนที่เคยติดเชื้อมาแล้วมีโอกาสที่จะติดเชื้อซ้ำเพิ่มสูงขึ้น
ยาที่รักษาโรคโควิด-19 ยังได้ผล
 
วิธีสังเกตอาการของโอมิครอน

แพทย์จากแอฟริกาใต้ ให้ข้อมูลเกี่ยวกับอาการป่วยส่วนใหญ่ที่พบ มี 5 อาการใหญ่ ๆ (ข้อมูลเมื่อ 21 ธ.ค. 64)
 
1. เจ็บคอ
 
2. ไอแห้ง
 
3. เหนื่อยง่าย
 
4. ปวดกล้ามเนื้อเล็กน้อย
 
5. เหงื่อออกตอนกลางคืน แม้นอนในห้องที่อากาศเย็นก็อาจเปียกโชกจากเหงื่อได้



ผู้ตั้งกระทู้ yoyo (yosita-dot-pongg-at-gmail-dot-com) :: วันที่ลงประกาศ 2022-03-07 13:59:07


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล